บทความทั่วไป

บอนไซ กาลเวลา ระยะทาง หรือจุดหมาย?

         การเดินทางที่ยาวนานนั้นอาจไม่ใช่ระยะทางเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นกับว่าเราเดินได้ไวแค่ไหน น้องๆพี่ๆหลายๆท่านพอเข้าใจกันดีว่า ต่อให้เส้นทางสั้นๆถึงแค่หน้าปากซอย แต่ถ้าเราเดินไวเท่าน้องหนอนไส้เดือน เราก็อาจจะใช้เวลาหลายปีเพื่อเดินให้ถึงจุดหมาย การเลี้ยงบอนไซก็เช่นกัน อัตราการเติบโตของต้นไม้แต่ละชนิดนั้นแตกต่าง บางชนิดนั้นก็โตช้าแบบเหลือเชื่อ (เช่นพวกสนญี่ปุ่น ) บางชนิดก็ โอยย ! พึ่งจะตัดแต่งไปทำไมฟูอีกแล้ว (ดั่งเช่นไม้ในเขตร้อนของบ้านเรา) แต่เชื่อเหลือเกินว่า ถ้าเราเลี้ยงบอนไซ 100 ทั้ง 100 จะชอบโคนใหญ่ๆ เพราะนั่นคือคุณค่าอย่างหนึ่งที่สำคัญซึ่งบ่งบอกถึง “อายุ” ของบอนไซ คำถามมีเข้ามามากมายว่าทำยังไงให้โคนใหญ่ๆ คำตอบที่ตอบได้แบบพื้นฐานง่ายๆเลยคือ “รอเวลา”

แต่หากมองในเชิงเทคนิคแล้ว ก็มีหลากหลายวิธีในการเลี้ยงเร่งโต เช่นการเลี้ยงบำรุงให้เหมาะสม มีอาหารและแร่ธาตุที่ดี มีพื้นที่ให้รากเดินได้อย่างมั่นคง มีอีกหลากหลายวิธีในการเบ่งโคนซึ่งจะไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ ที่สำคัญเลยคือถ้าบอนไซที่โคนไม่ใหญ่ ใช่ว่าจะด้อยคุณค่าเสมอไป ยังมีการแก้ทรง สร้างทรง ให้ออกมาดูดีได้ ดั่งเช่นทรง Bunjin หรือบัณฑิต ที่มีความสูงโปร่ง มีเรื่องราวในส่วนบนของบอนไซที่แปลกตาน่าหลงไหล

เรื่องราวดีๆ ของ”บอนไซ” อีกอย่างหนึ่งคือ “กาลเวลา” ในที่นี่หลายๆท่านคิดว่า อ้อ! ก็แค่เลี้ยงรดน้ำไปเรื่อยๆ อีก 50ปีมันก็สวยเอง.. มันอาจมีส่วนจริงอยู่บ้าง แต่คงไม่ถูกทั้งหมด.. การเลี้ยงบอนไซนั้นมีรายละเอียดแอบแฝงอยู่มากมายตามกาลเวลา การดูเเล การเลี้ยงกิ่งเลี้ยงใบ หลายๆท่านใช้คำว่า “journey”​ซึ่งแปลง่ายๆว่า “การเดินทาง”
อย่างที่ผมเคยกล่าวไว้ว่า”จุดหมายนั้นหอมหวานและสวยงาม หากแต่จริงๆแล้วในชีวิตหนึ่ง เราอาจมีเวลาอยู่กับความสำเร็จที่จุดหมาย น้อยกว่าการเดินทางซะอีก…”

🌳ดังนั้นการเดินทางนี่แหละ คือสิ่งที่เราควรมีความสุขกับมันให้มากๆ ถ้าทำมันได้เเล้ว เราจะเป็นอีกคนหนึ่งที่น่าอิจฉาที่สุดในโลกเลยล่ะครับ… 🌳

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *