know how

เทคนิคการทำบอนไซ-วิธีการโน้มกิ่งแบบขันชะเนาะ

วีธีการดัดกิ่งให้เข้ารูปทรงของบอนไซมีหลากหลาย มีข้อดีข้อได้เปรียบแตกต่างกันออกไป วบทความนี้จะขอนำเสนออีกแนวทางหนึ่งที่ๆม่ยุ่งยากจนเกินไปสำหรับการโน้มกิ่ง

วิธีการนี้ผมเรียนเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว ซึ่งยาวนานมากๆ ไม่ได้เรียนเกี่ยวกับบอนไซเลยครับ แต่วิธีนี้เรียน ตอน ป.3 เพื่อทำหลังจากงูกัด (โดยการวิจัยสมัยนี้หลังจากงูกัด การขันชะเนาะไม่ใช้วิธีที่ควรทำอีกแล้วนะจ๊ะ )

เริ่มมานานไม่ได้เข้าเรื่องเลย 😂 เอ้ามาดูกันครับ

เจ้าต้นนี้ หลังจากคัดกิ่งทำทรง จะสังเกตเห็นว่า พุ่มบนสุดของมันไม่รับกันกับแนวทิศทางกิ่งย่อย หัวมันเชิดขึ้นเองโดยทิศทางของกิ่งจากธรรมชาติ สังเกตเห็นมั้ยครับเมื่อสังเกตเห็นสิ่งที่เชิดขึ้นแล้วต้องการจะดัดลง การดัดสามารถเข้าลวดตามกิ่งได้เช่นกัน แต่หากบางครั้ง กิ่งใหญ่จะดัดยากเพราะโครงสร้างซับซ้อน มีโอกาสทำให้กิ่งย่อยเสียหาย วิธีการขันซะนะ เอ้ย !! ขันชาแนะ เอ้ย !! ขันชะเนาะ เอ้ย!! อ่ะถูกแล้วววว นี้จึงนำลวดเส้นที่เหนียวพิเศษ (low carbon steel & annealing)

 

หาจุดคล้องทั้งบนและล่างเล็งให้ดี ให้จุดยึดแข็งแรงพอรับแรงนะ

ผมไม่ค่อยมีโอกาส ได้ถ่ายภาพขั้นตอนการทำบอนไซอย่างละเอียด เพราะมือเปื้อนและจับกล้องไม่สะดวกจริงๆ จึงข้ามขั้นมาบ้าง ขออภัยครับ

ตัวอย่างของจุดคล้องลวด ให้ใช้วัสดุเช่นแผ่นยาง หรือท่ออากาศออกซิเจนจากตู้ปลา มารองรับผิวสัมผัสระหว่างลวดกับกิ่ง เพราะจุดนี้ จะมีแรงดึงค่อนข้างมากอาจทำให้กิ่งเสียหายได้จากการกดทับได้ คล้องคู่กันเป็นเส้นคู่ครับ

หลังจากนั้น ทำกุญแจหมุนขึ้นมา ไม่มีอะไรมากใช้ลวดเส้นใหญ่ตัดสั้นๆ มีเรื่องอยู่ครั้งหนึ่งว่า ผมเคยสอนน้องคนหนึ่งที่มาเรียนทำบอนไซ มาจากต่างจังหวัด ผมก็สอนเทคนิคการขันชะเนาะไปให้ 1 ต้น น้องดีใจเอาต้นไม้กลับบ้านไป ปรากฏว่าไม่ได้เอากุญแจหมุนกลับบ้าน ผมเองก็ไม่รู้ อีกสัปดาห์หนึ่งน้องขับรถมาที่สวนจาก ตจว. เพื่อมาเอากุญแจหมุนโดยเฉพาะ จ๊ากก !! พี่ผิดไปแล้ว แต่ !! อันนี้ทำเองได้นะครับไม่มีอะไรพิเศษ เป็นแค่ท่อนสั้นๆ ==! ผมสอนแย่ขนาดนั้นเลยหรือว่าอยากอ้างแฟนขอแวะมาสวนอีกรอบก็ม่ายยรู้ 555

ถัดมาใช้กุญแจหมุน ใส่เข้าไประหว่างเส้นคู่ขนาน จนถึงมอเตร์เวย์ครับ (ป้าดดด !!) ครับ แล้วเริ่มทำการหมุน

การหมุนนั้นไม่ควรหมุนให้เข้าทรงในทันทีหากต้องโน้มกิ่งมากๆ เพราะกิ่งอาจจะตึงมากเกินไปจนท่อน่ำเลี้ยงตีบตัน เสียหายได้ หักได้นะครับ

ให้ค่อยๆหมุนพร้อมกับระยะเวลาที่ผ่านไป ไม่ต้องรีบร้อน

หมุนไปเรื่อยๆ

จนกระทั่งได้ความรู้สึกว่า เฮ้ย !!! มันรับกันแล้ว (ฮู้เร่) แต่อย่าเพิ่งรีบแกะลวด ให้หมุนเพิ่มมากขึ้นไปอีก เพราะเวลาเราถอด ธรรมชาติของกิ่งจะกระเด้งกลับไปในทิศทางที่มันเคยอยู่ เราจึงต้อง หมุนมากกว่าปกติเพื่อทำการชดเชย

ใช้เวลาสั้นยาวไม่เท่ากันที่แกะการขันชะเนอะออก เป็นเดือนหรือเป็นปีแล้วแต่ชนิดของบอนไซครับ

ภาพนี้ทรงดีกว่าเดิมมั้ยครับ ???

(ถ้าใช่ แสดงว่าเชื่อคนง่าย เพราะมันคือภาพเดียวกับภาพแรกที่ยังเชิดๆอยู่ 555)

หลายๆคนเลื่อนกลับไปดูภาพแรก จริงๆแล้วคนละภาพถูกแล้วครับ 555 ขำๆนะ ห้ามโกรธเพราะเปลืองเนท.

และเเล้วเจ้า material ต้นนี้ก็เลิกน้อยใจ เพราะได้มีโอกาสสัมผัสมันเจ้าของมันมากขึ้นซักที

วันนี้พอหอมปากหอมคอ ทดลองทำกันเล่นๆดูได้ ขอบคุณมากที่ติดตามครับ

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *